ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่กำหนดระดับประเทศ (อาคาร)ศาลเจ้าอาโอบะ

วันที่ลงทะเบียน:2019.03.29

ศาลเจ้าอาโอบะก่อตั้งขึ้นโดยอดีตข้าราชบริพารของตระกูลดาเตะเป็นหลัก

มันยังเป็นที่รู้จักกันในนาม "เทศกาลเซนไดอาโอบะ" ชินโกะชิกิ

ศาลเจ้าหลักเป็นอาคารศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้กับเทพเจ้า

โถงบูชาเป็นอาคารที่ผู้สักการะบูชา

เพดานห้องพระเป็นเพดานชั้นสูง

ผนังโปร่งใสที่ล้อมรอบศาลเจ้าหลักที่ประดิษฐานชินไท

ประตูกลางหน้าศาลเจ้าหลัก

บ้านแสดงความยินดีเป็นที่ที่พระสงฆ์อ่านออกเสียงคำแสดงความยินดี

ทางเดินที่เชื่อมระหว่างศาลเจ้าที่เตรียมอาหารของพระเจ้าและห้องสักการะเรียกว่าทางเดินเดนไซ

ศาลเจ้าเป็นอาคารขนาดเล็กแต่มีคุณภาพสูง หันหน้าไปทางทิศใต้หน้าหอสักการะ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็น

ศาลเจ้าอาโอบะเป็นศาลเจ้าที่อุทิศให้กับขุนนางศักดินาคนแรกของโดเมนเซนได (1567-1636) การก่อสร้างศาลเจ้าเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2416 เมื่อประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตขุนนางศักดินา ได้ร้องขอไปยังจังหวัดมิยางิ ศาลเจ้าหลักถูกประดับประดาทุกที่ สร้างบรรยากาศอันทรงเกียรติ อาคารหกหลังรวมถึงศาลเจ้าหลักถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จดทะเบียนที่จับต้องได้ของชาติ เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมศาลเจ้าที่สร้างขึ้นในยุคนี้ จึงมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมอันล้ำค่า

open

ความเห็น

ศาลเจ้าอาโอบะ เป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บูชาดาเตะ มาซามุเนะ (ค.ศ1567~ค.ศ1636) เจ้าผู้ครองนครคนแรกของแคว้นเซนได มาซามุเนะได้บ่มเพาะวัฒนธรรมอันงดงามแบบดาเตะโดยการปฏิรูปและสร้างเมืองรอบปราสาทที่เต็มไปด้วยความมีชิวีชีวาโดยมีปราสาทเซนไดเป็นศูนย์กลาง การก่อสร้างศาลเจ้าเกิดขึ้นจากชาวเมืองซึ่งเป็นอดีตขุนนางเก่าเป็นแกนกลางในการดำเนินการส่งคำร้องขอไปยังจังหวัดมิยางิในปี ค.ศ 1873 ณ ช่วงเวลานั้นเป็นยุคสมัยที่มีแนวโน้มความต้องการที่จะสร้างจัดเตรียมศาลเจ้าเพื่อบูชาบรรพบุรุษตระกูลเพิ่มสูงขึ้นทั่วทั้งประเทศ ภูเขาคิตะยามะแห่งนี้เป็นพื้นที่รวมของศาลเจ้าและวัดของกลุ่มเครือญาติครอบครัวดาเตะ จึงได้รับการขนานนามว่า “คิตะยามะโกะซัง”ตามรูปแบบที่ปรากฎในจังหวัดคามาคุระและเกียวโต อาคารหลัก และอาคารสำหรับสักการะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 7 ( ค.ศ 1874) แต่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงของคิตะยามะ ทั้งนี้ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่ในปีต่อมา หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างปรับปรุงตั้งแต่ปีไทโชวที่ 11 (ค.ศ 1922) และอาคารทั้งหมดในปัจจุบันสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีโชวะที่2 (ค.ศ 1927) เทศกาลอะโอบะ งานเทศกาลประจำปีของศาลเจ้าอาโอบะมีการหยุดจัดงานไปชั่วคราว แต่ทว่าในปีโชวะที่ 60 (ค.ศ 1985) 350 ปีหลังจากผ่านช่วงการปกครองของดาเตะได้รับการฟื้นฟูให้เป็นงานเทศกาลของชาวเมืองและวันเสียชีวิตของดาเตะได้รับการกำหนดขึ้นในภายหลังให้เป็นวันที่ 24 พฤกษภาคม ดังนั้น ในดือนพฤษภาคมของทุกปีตามท้องถนนจึงเต็มไปด้วยขบวนพาเหรดที่มีชีวิตชีวาของการเต้นระบำนกกระจิบซุซุเมะโอโดริ และ การแห่เกี้ยวสูงที่เรียกว่ายามาโบโกะที่สง่างามและหรูหรา

อาคารหลักของศาลเจ้าอาโอบะ

อาคารหลักเป็นอาคารศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าประจำเทศกาลโดยสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีไทโชที่ 13 (ค.ศ 1924) สถาปัตยกรรมของอาคารหลักเป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นในรูปแบบของนากาเระซึคุริหรือศาลเจ้าที่มีหลังคาทรงเพรียว มีขนาดใหญ่และยาวจนได้รับการขนานนามว่า เป็นสถาปัตยกรรมซังเก็นชะนากาเระซึคุริ โดยมีหลังคายาวยื่นไปทางด้านหน้าและขยายออกไปเป็นรูปทรงโค้งโดยสร้างไว้เพื่อใช้เป็นที่สักการะ (ช่องว่างทีมีชายคาสำหรับผู้เดินทางมาสักการะ)
หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดงทนไฟและมีความทนทานสูง
ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และความชำนาญในการออกแบบเชิงวัฒนธรรม อาทิ การใช้ลวดลายอาหรับกับเสาขากบสี่ขาซึ่งติดตั้งไว้ตรงใต้ชายคาระหว่าเสา และลวดลายทรงเรขาคณิตที่จมูกไม้ (คิบะนะ) ที่ยื่นออกมาจากส่วนบนของเสา

อาคารสักการะของศาลเจ้าอาโอบะ

อาคารสักการะเป็นอาคารสำหรับผู้ที่เดินทางมาสักการะบูชา
อาคารสำหรับสักการะของศาลเจ้าอาโอบะนี้ถูกสร้างฃึ้นในปีโชวะที่ 2 (ค.ศ 1927) โดยเป็นอาคารที่เป็นศูนย์กลางของพื้นที่และตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดของทางเดินเข้าศาลเจ้า หลังคาจะมีส่วนที่ยื่นขยายออกมา (ชายคา) เพื่อใช้เป็นที่สำหรับสักการะบูชาอยู่ทางด้านหน้าโดยทำมาจากแผ่นทองแดงตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของอิริโมะยะซึคุริ
ภายในปูด้วยเสื่อทาทามิหนึ่งห้องและมีเพดานสูง (โกเด็งโจว) ที่ทำจากไม้ระแนงเรียวยาวประกอบกันเป็นรูปทรงตาข่ายและวัสดุทรงเหลี่ยมที่ประกบเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมโดยไม่มีการใช้ตะปูในการยึดแต่อย่างใด จากนั้นจึงมีการวางแผ่นกระดานไว้บนวัสดุดังกล่าวอีกครั้ง
มีระเบียงที่มีราวจับล้อมรอบทั้งสี่ด้าน

ประตูชูมง (ประตูกลาง) และห้องสวดมนต์ (โนะริโทะชะ) ของศาลเจ้าอาโอบะ

ประตูกลาง (ชูมง) ที่อยู่ทางด้านหน้าอาคารหลักและห้องสวดมนต์ (โนะริโทะชะ) ที่อยู่ทางด้านหลังนั้นกูกสร้างขึ้นในปีโชวะที่ 2 (ค.ศ 1927) ภายหลังจากที่อาคารหลักก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว
ประตูกลาง (ชูมง) เป็นประตูสี่ขา (ชิเคี๊ยะคุมง) ซึ่งค้ำยันด้วยเสาทั้ง 4 ต้นและมีเสารองไว้ค้ำยันเสาหลักอย่างละ 2 ต้นตั้งอยู่ทางด้านหน้าและหลัง หลังคาเป็นรูปทรงภูเขาที่มีลักษณะคล้ายกับหนังสือที่เปิดคว่ำไว้โดยเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่าคิริซุมะ ซึคุริ นอกจากนี้ยังมุงด้วยแผ่นทองแดงบางที่ประกบเข้าหากัน
ห้องสวดมนต์ (โนะริโทะชะ) เป็นสถานที่สำหรับสวดมนต์ของนักบวชนิกายชินโชคุเพื่อบูชาต่อเทพเจ้า หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดงเช่นเดียวกันกับประตูกลางโดยเป็นพื้นที่เปิดรอบและไม่มีกำแพงขวางกั้น

รั้ว (ซุคิเบ) ของศาลเจ้าอาโอบะ

รั้ว (ซุคิเบ) ทำหน้าที่ในการแบ่งแยกพื้นที่จากโลกของฆราวาสและล้อมรอบไปด้วยอาคารหลักที่ประดิษฐานขององค์เทพเจ้า ชื่อนี้ตั้งขึ้นมาจากการที่สามารถมองเห็นทะลุเข้าไปถึงด้านในได้ เนื่องจากมีการจำกัดผู้ที่สามารถเข้าไปภายในรั้วได้จึงทำให้บุคคลอื่นต้องมองจากภายนอกเข้าไป
รั้วที่ถูกสร้างขึ้นในปีโชวะที่ 2 (ค.ศ 1927) นี้มีลักษณะเป็นช่องหน้าต่างที่คั่นด้วยวัสดุทรงเหลี่ยมเรียวยาวทำให้สามารถมองเห็นอาคารหลักได้เล็กน้อยจากช่องว่างนี้ หลังคาทำจากแผ่นทองแดงที่มุงด้วยแผ่นทองแดงซึ่งมีความทนทานสูงและน้ำหนักเบาอีกชั้น
เนื่องจากมีการใช้กระเบื้องในการสร้างฐานจึงทำให้สัมผัสได้ถึงการเริ่มต้นของยุคสมัยแห่งการก่อสร้าง
การออกแบบมีความเรียบง่ายแต่ทว่ามีการใช้เทคนิคและวัสดุคุณภาพสูง

อาคารชินเซ็นโจะและระเบียงเด็งคุโรของศาลเจ้าอาโอบะ

ชินเซ็นโจะเป็นสถานที่สำหรับถวายเอาหารและเครื่องสักการะบูชาแด่เทพเจ้าและเป็นอาคารที่เชื่อมต่อมาจากอาคารสักการะ มีระเบียงที่เชื่อมต่อกันระหว่างชินเซ็นโจะและอาคารสักการะเพื่อใช้ในการลำเลียงเครื่องสักการะบูชาแด่เทพเจ้าที่เรียกว่า “เด็งคุโร” ต่างก็สร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในราวปีโขวะที่ 4 (ค.ศ1929)
ชินเซ็นโจะเป็นสถาปัตยกรรมสไตล์อิริโมะยะซึคุริ โดยหลังคาทำจากแผ่นทองแดงที่มุงด้วยแผ่นทองแดงที่มีความทนทานสูงอีกชั้น
เด็งคุโรมีหลังคามุงด้วยแผ่นทองแดงตามสถาปัตยกรรมสไตล์คิริซุมะ ซึคุริด้วยเช่นกัน โดยมีพื้นเป็นแผ่นกระดาษและสามารถมองเห็นห้องใต้หลังคาที่มีความสวยงามได้เนื่องจากไม่มีการติดตั้งฝ้าเพดาน

อาคารคิวเมะโกะฮิเมะชะซะยะโดของศาลเจ้าอาโอบะ

อาคารคิวเมะโกะฮิเมะชะซะยะโดเป็นอาคารที่ทำหน้าที่ปกป้องอาคารหลักของศาลเจ้าเมะโกะฮิเมะ จักรพรรดินีของดาเตะ มาซามุเนะผู้ครองนครคนแรกของแคว้นเซนได ในตอนที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีโชวะที่6(ค.ศ 1931) ตั้งอยู่ในพื้นที่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอาคารสักการะ เนื่องจากความกังวลว่าศาลเจ้าจะถูกทำลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีโชวะที่ 20 (ค.ศ 1945) และอาคารหลักได้ถูกย้ายไปภายในอาคารของศาลเจ้าอาโอบะแล้วจึงทำให้อาคารซายะโดนี้ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ตรงบริเวณของพื้นที่ในปัจจุบัน หลังจากที่ย้ายมาได้มีการใช้เป็นสถานที่รับเครื่องรางของขลัง
อาคารซายะโดมุงด้วยแผ่นทองแดงตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์อิริโมะยะซึคุริ ภายในปูด้วยเสื่อทาทามิและเพดานเป็นไม้ระแนงขัดกัน เครื่องประดับตกแต่งมีขนาดเล็กและจำนวนไม่มาก แต่ทว่าเป็นอาคารที่มีชายคาเป็นรูปโค้งสวยงาม
แม้จะถูกใช้เป็นสถานที่รับเครื่องรางของขลังและทิศทางของอาคารเปลี่ยนแปลงไป 90 องศาก็ตาม แต่ในตอนที่มีการใช้งานเป็นอาคารซายะโด ด้านที่มีประตู (ประตูซังคาระโด) จะกลายเป็นด้านหน้าแทน

คุณอ่านความคิดเห็นและเข้าใจเนื้อหาหรือไม่?

ข้อมูลทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

【เวลา】

บูชา: ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รับคำอธิษฐาน: 10: 00-15: 00 น. ของขวัญ / รับแสตมป์สีแดง: 9: 00-17: 00 * จำเป็นต้องยื่นคำอธิษฐาน พิธีการ ฯลฯ เมื่อเข้าศาลเจ้า

【วันหยุดประจำ】

-

【ราคา】

เดินฟรีในอาณาเขต พระเครื่อง: ตั้งแต่ 500 เยนสำหรับหูแรก

กลับไปที่รายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของ เซนได จังหวัดมิยางิ